กระทู้ธรรมศึกษาชั้นโท

    

                                                                      

 

 

 

                                                                            ปาปมิตฺเต  วิวชฺเชตฺวา         ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล

                                                                             โอวาเท  จสฺส  ติฏฺเฐยฺย      ปตฺเถนฺโต  อจลฺ  สุขํ

                                                                                         ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง  พึงเว้นมิตรชั่วเสีย  คบแต่บุคคลสูงสุด

                                                                                         และตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.                                           

                                                                                                                                                           (ขุ.เถร.)

 

                คำว่า  “มิตร”  หมายถึงบุคคลที่มีความสนิทชิดเชื้อ  คนที่ต้องการความสุขที่ยั่งยืน  ต้องละเว้นจากการคบมิตรชั่ว  เพราะมิตรที่ชั่วไม่อาจนับได้ว่าเป็นมิตร  เป็นแต่คนเทียมมิตรเทียมเท่านั้น  ซึ่งมีลักษณะ  คือ  เป็นคนมีนิสัยชอบปอกลอก  ดีแต่พูด  หัวประจบ  และชอบชักชวนไปในทางเสียหาย  เมื่อทราบดังนี้จึงควรหลีกหนีคนจำพวกนี้ไปให้ไกล  ทั้งนี้เพื่อสร้างความสวัสดิภาพให้กับตัวเอง  โงโบราณท่านกล่าวว่า  ห่างไฟให้ห่างศอก  ห่างวอกให้ห่างวา  ห่างคนพาลาให้ห่างเป็นร้อยโยชน์พันโยชน์

                ส่วนการคบกับคนดีเป็นเหตุนำความสุขความเจริญมาให้  เพราะคนดีมักแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์  ไม่ใช่ชักนำไปในทางเสียหาย  ซึ่งหากเราทำตามคำที่ท่านบอกกล่าวได้  ชีวิตก็จะพบกับความสงบสุขทั้งในส่วนที่เป็นปัจจุบันหรือในสัมปรายภพ  หากได้ทำตามคำของบุรุษผู้สูงสุดคือ  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์จนบรรลุถึงอรหัตผล  แล้วย่อมได้พบกับบรมสุขอันยอดเยี่ยม  คือพระนิพพานอย่างแน่นอน  สมดังพุทธภาษิตที่มาในขุททกนิกายธรรมบทว่า


 

 

                                                                     โย    วสฺสตํ  ชีเว                    ทุปฺปญฺโญ  อสมาหิโต

                                                                                                 เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย           ปญฺญวนฺตสฺส  ฌายิโน

                                                                                                                                        ผู้ใดมีปัญญาทราม  มีใจไม่มั่นคง  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี,  ส่วนผู้มีปัญญา

                                                                                 เพ่งพินิจ  มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว  ดีกว่า.

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                      ขุ.ธ.๒๕/๒๙.

 

 

                คนมีปัญญาทราม  หรือคนโง่เขลา  และมีจิตใจไม่คงที่  ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ  นั้น  มักจะทำอะไรไม่สำเร็จ  คนเช่นนี้แม้จะทำงานเล็กๆ  น้อยๆ  นั้น  ก็ไม่สามารถที่จะรับผิดชอบให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้  เพราะความเขลาเป็นเหตุนั่นเอง  แม้เขาจะเกิดมามีอายุยืนยาวเป็นร้อยปีก็คงเติบโตแต่ร่างกายเท่านั้น  ส่วนสติปัญญาและความรู้สึกนึกคิดหาได้เจริญเติบโตไปตามรูปร่างกายไม่  ฉะนั้น  ชีวิตของเขาจึงยากที่จะประสบกับความเจริญไม่ว่าคดีโลก  หรือคดีธรรม  แม้จะมีอายุยืนนานสักเพียงใด  ก็คงใช้ชีวิตไปในทางเสื่อม  เพราะไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษแล้ว  อาจจะก่อกรรมทำชั่วให้ให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน  ชีวิตจึงเป็นโมฆะไร้คุณค่า  ส่วนคนมีปัญญา  หรือคนฉลาดและมีจิตใจมั่นคง  แม้จะมีชีวิตอยู่ในโลกไม่นาน  แต่เขาใช้ความรู้ความฉลาดนั้นให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นตลอดเวลา  ฉะนั้นชีวิตของคนใช้ปัญญาจึงเต็มไปด้วยประโยชน์  มีคุณค่าเป็นที่ต้องการของสังคมทุกแห่งคน                ด้วยเหตุนี้  ผู้หวังความเจริญก้าวหน้าและต้องการให้ตนเองมีคุณค่าพึงแสวงปัญญาด้วยการหมั่นศึกษาเล่าเรียนโดยเคารพเถิด  พึงใช้ปัญญานั้นๆ  ไปในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นตลอดไป  หากได้ทำอย่างนี้ชีวิตก็จะมีคุณค่าและความเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน  สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาในสวดมนต์ฉับบหลวงว่า

 


 

                                                                           สตฺถุโน  วจโนวาทํ              กโรติเยว  ขนฺติโก

                                                                                                               ปรมาย    ปชาย ชินํ            ปูเชติ  ขนฺติโก.

                                                                                                                    ผู้มีขันติ  ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา,  และผู้มีขันติ 

                                                                                                   ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง.

                                                                                                                                                                                                    ส.ม.๒๒๒.

               

                ศีลและสมาธิได้ชื่อว่าเป็นพื้นฐานในการบำเพ็ญเพียรเพื่อให้เกิดปัญญา  คือปัญญาต้องอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานในขณะเดียวกัน  ศีลและสมาธิก็มีขันติคอยควบคุมสิ่งยั่วยุที่จะทำให้เสื่อมจากศีลและสมาธินั้นมีมาก  ดังนั้น  จำเป็นต้องอาศัยขันติคอยปกป้อง  คำว่า  ปกป้องในที่นี้หมายถึง  คอยควบคุมหรือข่มใจมิให้อ่อนไหวในสิ่งแวดล้อมต่างๆ  ที่จะก่อให้เกิดกิเลสนั่นเอง  เช่นขันติคอยข่มใจไม่ให้มักมากในวัตถุสมบัติจนเกิดโลภะ  ขันติย่อมไม่ให้ผูกโกรธหรือแค้นพยาบาทจนเกิดอกุศล  คือ  โทสะ  เป็นต้น  ถ้ามีขันติคอยกำกับใจอยู่เสมอแล้ว  ศีลก็จะมั่นคง  ในที่สุดปัญญาก็จะเกิด

                ศีลและสมาธิจำเป็นต้องอาศัยขันติคอยกำกับอย่างไร  ก็ให้เปรียบเทียบการเรียนภาษาศาสตร์  เพราะการเรียนภาษาทุกภาษาจะได้ผลดีนั้นจะต้องอาศัยหลักไวยากรณ์  หรือต้องมีไวยากรณ์คอยกำกับอยู่เพื่อให้ภาษานั้นมีหลักเกณฑ์  หากไม่รู้หลักไวยากรณ์แล้วการเรียนรู้ภาษาก็ไม่บรรลุผลสูงสุดอย่างนั้น

                จึงกล่าวได้ว่าหลักไวยากรณ์คอยกำกับภาษา  ขันติก็คอยกำกับจิตเพื่อไม่ให้ศีลและสมาธิเสื่อมไปฉะนั้น  สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาในขุททกนิกายธรรมบทว่า



 

                                                                                          อตฺตทตฺถํ  ปรตฺเถน            พหุนาปิ    หาปเย                                               

                                                                                          อตฺตทตฺถมภิญฺญาย            สทตฺถปสุโต  สิยา.

                                                                                                                                                        บุคคลไม่ควรพร่าประโยชน์ของตน  เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก 

                                                                                 รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว  พึงขวนขวายในประโยชน์ตองตน.

                                                                                                                                                                                                               ขุ.ธ.๒๕/๓๗.

 

          คำว่า  ประโยชน์  หมายถึง  ผลที่บุคลประพฤติปฏิบัติจะได้รับในที่นี้หมายถึงความดี  หรือกุศลกรรมที่บุคคลได้กระทำและบำเพ็ญไว้แล้วได้รับประโยชน์นั้นๆ  มี    อย่าง  คือ  ๑.ประโยชน์ของตยเอง  ๒.ประโยชน์ของผู้อื่น  ตามความหายในสุ๓ษิตนี้  หมายถึง  การให้รู้จักประโยชน์ของตนเอง  แล้วรีบขวนขวยประโยชน์นั้นให้ถึงพร้อม

                ประโยชน์ในปัจจุบัน    อย่าง  คือ

                ๑. อุฏฐานสัมปทา                ความถึงพร้อมด้วยการหมั่นในการประกอบกิจการ

                ๒. อารักขสัมปทา                ความถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์ที่หามาได้แล้ว

                ๓. กัลยาณมิตตตา                  ความมีเพื่อนดี

                ๔. สมชีวิตา                          ความเลี้ยงชีวิตสมควรแก่ทรัพย์ที่หาได้มา

                ประโยชน์ภายหน้า    อย่าง  คือ

                ๑.สัทธาสัมปทา                   ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา

                ๒.สีลสัมปทา                       ความถึงพร้อมด้วยศีล

                ๓.จาคสัมปทา                      ความถึงพร้อมด้วยการสละ

                ๔.ปัญญาสัมปทา                 ความถึงพร้อมด้วยปัญญา

                ฉะนั้นบุคคลผู้รู้จักประโยชน์ทั้งในประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ในภายหน้าชื่อว่า  ผู้รู้จักประโยชน์ของตน  แล้วรีบขวนขวายกระทำประโยชน์เหล่านั้นถึงพร้อมด้วยดี  แล้วจึงจะได้ชื่อว่าไม่พร่าประโยชน์ของตน  สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาในขุททกนิกายธรรมบทว่า

 

 









Powered by AIWEB